การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (CBT)



ป่าเหมี้ยง


     จุดเริ่มต้นของชุมชนท่องเที่ยว “บ้านป่าเหมี้ยง” อ.เมืองปาน จ.ลำปาง หมู่บ้านในหุบเขาที่กรุ่นด้วยลมหายใจของธรรมชาติ บ้านป่าเหมี้ยงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ก่อตั้งโดย “ชาวขมุ” กลุ่มแรกย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยมากกว่า 200 ปี ต่อมามีคนทยอยเข้ามาอาศัยมากขึ้น ที่มาของชื่อ “ป่าเหมี้ยง” มาจากต้นเหมี้ยงหรือต้นชาอัสสัมที่ขึ้นอยู่ในป่ารอบหมู่บ้าน ชาวบ้านนิยมนำใบเหมี้ยงมาหมักจนมีรสเปรี้ยวเรียกกว่า “เหมี้ยง” ซึ่งเป็นของกินเล่นปรากฎในวัฒนธรรมการกินและเป็นอาหารในพิธีกรรมของภาคเหนือและใช้ต้อนรับแขกที่มาเยือน ใบแก่สามารถนำมาอบแห้งเพื่อยัดไส้ทำเป็นหมอนใบชาสำหรับหนุนทำให้มีกลิ่นหอมและรู้สึกผ่อนคลาย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมของทุกปี “ต้นเสี้ยว” ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำถิ่นจะออกดอกสีขาวบานสะพรั่งเต็มต้น ชุมชนจะจัดงาน “เทศกาลดอกเสี้ยวบาน” ซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย
     ทุนชุมชนที่มีความสำคัญต่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ชุมชนนำทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตที่มีลักษณะเด่น (การทำเหมี้ยง) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของชุมชนมาจัดกิจกรรมท่องเที่ยว จากที่บ้านป่าเหมี้ยงมีธรรมชาติที่สวยงาม โอบล้อมด้วยป่าไม้ทำให้อากาศเย็นตลอดปี มีลำธารไหลเลาะผ่านชุมชนทำให้ครัวเรือนที่อยู่ติดริมน้ำมีการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาพักผ่อนสัมผัสธรรมชาติ ซึ่งการให้บริการที่พักและอาหารแก่นักท่องเที่ยวจะเน้นอาหารพื้นบ้านและใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลัก
     การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง “เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยนักท่องเที่ยวต้องยอมรับและปฏิบัติตามวิถีชุมชน” ชุมชนใช้ทรัพยากรเป็นพื้นฐานของการจัดการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจบนฐานคิด “ทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีรายได้จากการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจ ยังคงไว้ซึ่งทรัพยากรและวิถีชีวิตของชุมชน”
     ชุมชนจัดการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งการดำรงชีวิตของคนในชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยยึดคติคนในชุมชนปลอดหนี้อยู่สบาย จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกคนที่ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างและร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างต่อเนื่องสู่การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน ปัจจุบัน มีการใช้ช่องทาง Social Media ในการจัดทำเพจท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเป็นสื่อกลางในการรับและกระจายนักท่องเที่ยว ตลอดจนการสำรองที่พักให้แก่นักท่องเที่ยว

ประมวลภาพ


...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...

...