ศูนย์กลางองค์ความรู้และข้อมูลด้านเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Sufficient Economy Philosophy (SEP) Solution Database LPRU
ความเป็นมา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง (มูลนิธิชัยพัฒนา, ออนไลน์) เป็นแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยมีเป้าหมายของการพัฒนาที่มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ
แนวคิดการจัดตั้งศูนย์กลางองค์ความรู้และข้อมูลด้านเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy [SEP] Solution Database ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้พัฒนาขึ้นจากโครงการวิจัยเรื่อง “กลไกการขับเคลื่อนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง” โดยมีฐานความเชื่อที่ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) อย่างกลมกลืน เพราะมีเป้าหมายปลายทางที่มุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุลในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบรรลุได้ และในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจหลักคือ (1) การผลิตบัณฑิตบัณฑิตเพื่อนำองค์ความรู้ออกไปรับใช้สังคม (2) การศึกษาค้นคว้า วิจัย (3) การบริการวิชาการ และ (4) การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการพัฒนา ที่ยั่งยืนมาเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนารากฐานแก่ชุมชน สังคม ท้องถิ่น โดยการถ่ายทอดปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาบนหลักภูมิสังคม หลักความเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ให้แก่นักศึกษา บุคลากร และภาคีเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1. รวบรวมองค์ความรู้การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และงานบริการวิชาการของบุคลากรในองค์กรและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2. เผยแพร่องค์ความรู้งานด้านงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการบูรณการเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
3. สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ภารกิจ
“เชื่อมโยงภาคีภาครัฐ ภาคองค์กรธุรกิจ และภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
1. เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. เป็นศูนย์กลางประสานงาน บูรณาการความร่วมมือ ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับภาคีเครือข่าย 3 ภาคส่วน
3. เป็นศูนย์เผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการด้านงานเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
ความหมายของตราสัญลักษณ์ธัชชา
สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น
สถาบันพิพิธภัณฑ์
ศิลปกรรมแห่งชาติ
สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา
สถาบันโลกคดีศึกษา
สถาบันเศรษฐกิจ
พอเพียง
สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
แผนงานของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
1. การพัฒนาคลังความรู้ด้านการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ (SEP Intelligence Platform)
2. การพัฒนากลไกในการขยายผลต้นแบบนวัตกรรมการใช้เศรษฐกิจพอเพียง
3. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้และสื่อสาธารณะด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ทันสมัย
4. การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลผลิต (Key Results) ของแผนงานเศรษฐกิจพอเพียง
1. คลังความรู้ด้านการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และมีระบบศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างพันธมิตรความร่วมมือที่เข้มแข็ง (S4S Consortium) ในการขยายผลการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ภาคีเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ไม่น้อยกว่า 3 สถาบันต่อ 1 โครงการ
3. การเผยแพร่องค์ความรู้/ต้นแบบนวัตกรรมจากการดำเนินโครงการร่วมกับสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ
4. การเผยแพร่องค์ความรู้/ต้นแบบนวัตกรรมจากการดำเนินโครงการในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือการตีพิมพ์ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
5. สื่อการเรียนรู้และสื่อสาธารณะด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ทันสมัย เช่น Virtual Exhibition, Platform Platform Online, E-Book เป็นต้น
6. โมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มิติการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs)
จุดมุ่งหมายการดำเนินโครงการ
1. เพื่อพัฒนาศูนย์กลางองค์ความรู้และข้อมูลด้านเศรษฐกิจพอเพียง (SEP Solution Database)
2. เพื่อสร้างพันธมิตรความร่วมมือที่เข้มแข็ง (S4S Consortium) ในการขยายผลการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อขยายผลการเรียนรู้การใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อพัฒนาทฤษฎีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล